อีวานเกเลียน shared by ศุภรักษ์ เจริญรักษ์
อีวานเกเลียน มหาสงครามวันพิพากษา | |
![]() | |
ชื่อไทย | อีวานเกเลียน มหาสงครามวันพิพากษา |
ชื่อญี่ปุ่น | 新世紀エヴァンゲリオン (ชินเซกิ เอะวานเกริออน) |
ชื่ออังกฤษ | Neon Genesis Evangelion |
ประเภท | โชเน็น |
แนว | วิทยาศาสตร์ แอคชั่น |
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์ | |
ผู้กำกับ | ฮิเดอากิ อันโน |
ผลิตโดย | สตูดิโอไกแน็กซ์ |
ฉายทาง | ![]() |
ฉายครั้งแรก | 4 ตุลาคม 2538 - 27 มีนาคม 2539 |
จำนวนตอน | 26 ตอน |
มังงะ | |
เขียนเรื่อง | โยชิยูกิ ซาดาโมโตะ |
สำนักพิมพ์ | ![]() ![]() |
เมื่อ | 2538 – ปัจจุบัน |
จำนวนเล่ม | 12 เล่ม |
![]() |
อีวานเกเลียน มหาสงครามวันพิพากษา (ญี่ปุ่น: 新世紀エヴァンゲリオン Shin Seiki Evangelion ชินเซกิ เอะวานเกริออน) ?) หรือชื่อภาษาอังกฤษว่าNeon Genesis Evangelion หรืออาจเรียกย่อๆ ว่า อีวานเกเลียน, อีวา, NGE เป็นการ์ตูนอะนิเมะชุดสำหรับฉายทางสถานีโทรทัศน์ สร้างโดยสตูดิโอไกแน็กซ์(Gainax) เขียนบทและกำกับโดย ฮิเดอากิ อันโน (ญี่ปุ่น: 庵野秀明 Anno Hideaki ?) และร่วมผลิตโดยทีวีโตเกียว และ Nihon Ad Systems เริ่มฉายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 เป็นการ์ตูนอะนิเมะที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ทั้งในด้านความนิยม ด้านการค้า นอกจากนี้ ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการอะนิเมะ และสังคมญี่ปุ่นในสมัยนั้น และก่อให้เกิดแฟรนไชส์สินค้าและสื่ออีวานเกเลียนขึ้นมากมาย นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลอะนิเมะใหญ่หลายรางวัล จนได้รับการยอมรับในหลายๆ แห่งว่า เป็นหนึ่งในการ์ตูนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล (one of the greatest anime of all time) และถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เยี่ยมยอดที่สุดและเป็นเรื่องต้นฉบับที่ทำให้การ์ตูนทั้งหมดหลังจากนั้นเป็นยุคใหม่มากกว่าขึ้นอย่างมาก เช่น กันดั้ม เป็นต้น
อีวานเกเลียน ได้หยิบสัญลักษณ์ทางศาสนาของหลักจูเดโอ-คริสเตียน จากพระธรรมปฐมกาล (Book of Genesis) ในคัมภีร์ของศาสนายิว และศาสนาคริสต์และเรื่องเล่าทางศาสนาต่างๆ มาเป็นแนวดำเนินเรื่อง ในตอนท้ายๆ ได้เน้นไปที่การวิเคราะห์จิตของตัวละครเมื่อสมัยเด็ก (psychoanalysis) ว่าทำไมตัวละครหลักของเรื่องจึงมีนิสัยและการกระทำเช่นนั้น ซึ่งได้แสดงว่าตัวละครนั้นๆ มีปัญหาทางด้านอารมณ์มาแต่เด็ก จนเกิดอาการป่วยทางจิตในที่สุด การเดินเรื่องจะวนเวียนอยู่กับการตั้งคำถามและการตอบซ้ำไปซ้ำมา จนทำให้ตัวละครสับสนว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่นนั้นจริงหรือ ฮิเดอากิ อันโน ผู้กำกับของเรื่อง เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก่อนที่จะเริ่มสร้างเรื่องนี้ เขาได้นำประสบการณ์ตรงของตัวเองในการที่จะเอาชนะโรคซึมเศร้า มาเป็นแนวความคิดของตัวละคร
เนื้อหา[ซ่อน] |
เนื้อเรื่อง[แก้]
ในปี ค.ศ. 2015 เป็นเวลา 15 ปีหลังจากหายนะที่เรียกว่า เซคันด์อิมแพกต์ การตกกระแทกของอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่มีสิ่งมีชีวิตพิเศษที่เรียกว่าอดัม ตกที่ขั้วโลกใต้ เป็นเหตุให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งเป็นเหตุทำให้ประชากรของโลกจำนวนมากต้องล้มตายลงเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด เหล่าผู้นำประเทศระดับสูงจึงได้เริ่มมีการจัดตั้ง สหประชาคมโลกและองค์กรพิทักษ์มนุษยชาติ โดยมีการตั้งเมืองแบบใหม่แทนที่เมืองที่ถูกจมลงในทะเล โดยมีการสำรวจความเสียหายและการวิจัยเศษซากของอุกกาบาตนั้น ได้พบกับ เทวทูตตนที่ 1 คือ ตัวอ่อนของอดัม และ เทวทูตตนที่ 2 คิอ ลิลิธ โดยทำการผนึกไว้ที่เมืองใหม่ที่ชื่อ เนโอโตเกียว แห่งที่ 3 ด้วย หอกลองกินุสเพื่อยับยังการคืนชีพของเทวทูตตนที่ 2 โดย เนโอโตเกียวแห่งที่ 3 เป็นเมืองหน้าด่านในการป้องกันโลกจากการจู่โจมของ เทวทูต ด้วยโครงสร้างพิเศษ เพื่อป้องกันการนำ ลิลิธออกมานั่นเอง โดยใช้อาวุธชีวะภาพที่ได้สร้างขึ้นด้วยมนุษย์จากข้อมูลที่เหลืออยู่ในอุกกาบาตที่ตกลงมาที่ขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นมาและใช้ชื่อเรียกว่า อีวานเกเลียน ....
ข้อมูล[แก้]
การออกจำหน่ายสือบันทึกและหนังสือ[แก้]
สื่อบันทึก[แก้]
การ์ตูนชุดฉายทางโทรทัศน์[แก้]
- ถูกฉายเป็นครั้งแรกในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1995 จนถึงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1996 ทางช่อง TVTokyo ทั้งหมด 26 ตอนจบ
- ในประเทศไทยได้มีการวางจำหน่ายในรูปแบบ วิดีโอ ในปี พ.ศ. 2543 ทั้งหมด 13 ม้วน โดยในแต่ละม้วนจะมี 2 ตอน ผู้ซื้อลิขสิทธิ์มาในปีนั้นคือ TIGA
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการนำมารีเมก์ทำการบันทึกสื่อจัดจำหน่ายในรูปแบบใหม่ ทั้ง VCD และ DVD) ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ TIGA เช่นเดิม
ภาพยนตร์[แก้]
หลังจากที่มีการฉายจบไปแล้วทางโทรทัศน์ได้มีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์ต่ออีก 2 ภาค ภาคต่อสำหรับฉายในโรงภาพยนตร์อีก 3 ตอน และ Remake อีก 4 ตอน ได้แก่
- อีวานเกเลียน: จุติภาค (Evangelion: Death and Rebirth) ฉายเมื่อ15มีนาคม1997 ความยาวทั้งสิ้น 115 นาที
- อีวานเกเลียน: ปัจฉิมภาค (The End of Evangelion) ฉายเมื่อ19กรกฎาคม1997 ความยาวทั้งสิ้น 87 นาที
10 ปีให้หลังทางต้นสังกัดได้มีโครงการสร้างฉบับหนังโรงใหม่อีกครั้ง โดยมีการสร้างตอนพิเศษอีก 4 ตอน โดยเริ่มฉายไปแล้ว 2 ภาค
- Evangelion: 1.0 You Are (Not) Alone เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงเนื้อหาการฉายทางโทรทัศน์ โดยใช้ตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 6 จัดทำโดย Studio Khara และกำกับโดยอันโนะ ฮิเดอากิ ผู้กำกับฉายที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 9 กันยายน ค.ศ. 2007 ความยาวทั้งสิ้น 98 นาที และออกฉายในประเทศไทย เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008
ต่อมาเมื่อมีการนำมาลงในการจัดจำหน่ายได้มีการปรับปรุงรายละเอียดเป็น เวอร์ชัน 1.01 ก่อนแล้วมีการตัดต่อใหม่ เพิ่มฉากการต่อสู้ใหม่ของตอนที่ 6 ทำมีการเปลี่ยนชื่อไปใช้ Evangelion: 1.11 You Are (Not) Alone
- Evangelion: 2.0 You Can (Not) Advance ฉายที่ญี่ปุ่นในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 เป็นการปรับปรุงเนื้อหาการฉายทางโทรทัศน์อย่างสิ้นเชิง อ้างอิงเพียงบางตอนของเนื้อเรื่องเดิมเท่านั้น และเพิ่มตัวละครใหม่มากินามิ มาริ ชิลเดรน คนที่ 5[1] อาจเป็นตัวละครใหม่ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเนื้อเรื่องด้วย รวมไปถึงคาโอรุ บทบาทของคาโอรุเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก รวมไปถึงบทบาทของอาสึกะ ออกฉายในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2010 ที่โรงภาพยนตร์ลิโด้[2] ความยาว 94 นาที
- Evangelion : 2.22 You Can (Not) Advance ภาคดัดแปลงของ Evangelion: 2.0 You Can (Not) Advance
- Evangelion : 3.0 You Can (Not) Redo กำหนดเข้าฉายที่ญี่ปุ่นในวันที่17 เดือนพฤศจิกายน ปี2012
- Evangelion : 4.0 The Final ชื่ออย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นคือ シン・エヴァンゲリオン劇場版:|| (Shin Evangelion Gekijou-ban:|| ชิน เอะวานเกริออน เกะคิโจบัง:||)
โดยสัญลักษณ์นี้ที่ใช้เป็นชื่อภาคนี้ก็คือตัว “Repeat” ในโน็ตดนตรี ยังไม่มีกำหนดฉายที่ชัดเจน
หนังสือ[แก้]
- หนังสือการ์ตูน เขียนโดย โยชิยูกิ ซะดะโมโตะ (Yoshiyuki Sadamoto) ผู้ออกแบบตัวละครในฉบับอะนิเมะ
เนื้อเรื่องใช้โครงสร้างและเส้นเวลาแบบเดียวกับฉบับอะนิเมะ แต่จะเดินเรื่องด้วยมุมมองของ อิคาริ ชินจิ และเพิ่มเติมเนื้อหา รายละเอียดหลาย ๆ ส่วนเพื่อให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์มากขึ้น และอ่านได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น แปลและตีพิมพ์เป็นภาคภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์
- "EVANGELION CHRONICLE "
หนังสือที่รวบรวมข้อมูลในเรื่องทั้งหมดอย่างละเอียด ทั้งหมด 30 เล่ม โดยเป็นการรวบรวมเนื้อหาที่ละเอียดมาที่สุดและครบถ้วนมากที่สุดอีกด้วย
- เกม อีวานเกเลียนได้รับการสร้าง เป็นเกมสำหรับเครื่องเล่นเพลย์สเตชันและพีซี ในชื่อตอนว่า Girlfriend of Steel
และ Evangelion: Jo เกม Action Adventure จาก Bandai Namco กำหนดออกวันที่ 4 มิถุนายน 2552 โดยสร้างจากโครงเรื่องรีแมกส์ในตอน Evangelion: 1.11 You Are (Not) Alone ลงบนเครื่อง playstation 2.0
ข้อมูลตัวละครและองค์กร[แก้]
องค์การมาร์ดุค (Marduk Organization)[แก้]
องค์การมาร์ดุค (Marduk Organization) เป็นองค์การที่ทำหน้าที่ในการหานักบินประจำอีวา ซึ่งมีคุณสมบัติคืออายุ 14 และต้องกำพร้าแม่เท่านั้น โดยองค์การนี้มีสาขาทั้งสิ้น 108 สาขา แต่จะแฝงตัวอยู่ในรูปแบบของบริษัทธรรมดา เมื่อคาจิสืบไปสืบมาจึงได้รู้ว่าองค์การนี้ไม่มีตัวตน เป็นองค์การหลอกๆที่ตั้งโดยเนิร์ฟ (สำหรับชื่อของมาร์ดุคนั้น เป็นชื่อของเทพสูงสุดในศาสนาของชาวเมโสโปเตเมียโบราณ)
ชิลเดรน (Children)[แก้]
ชิลเดรน (Children) คือ เด็กที่อายุตั้งแต่ 14 ปี มีความสามารถในเข้าถึงจิตวิญญาณของหุ่นได้ และมีความสามารถในต่อสู้ทางการเคลื่อนไหวที่สูงมาก โดยปกติจะดูเหมือนนักเรียนธรรมดาทั่วไป
- อายานามิ เรย์
- อายานามิ เรย์ (ญี่ปุ่น: 綾波 レイ Ayanami Rei ?) เรย์เป็นผู้ขับหุ่นหมายเลข 00 โดยเธอเกิดจากการโคลนนิ่งด้วยการประกอบดีเอ็นเอของยูอิ ซึ่งเป็นแม่ของ ชินจิ กับ ลิลิธ เศษซากเทวทูตตนที่ 2 ที่ถูกผนึกไว้ในเมือง อุปนิสัยเก็บตัวจากสังคม สีหน้าเย็นชา ไม่แสดงอารมณ์ใดๆ ไม่พูดคุยกับใครยกเว้นอิคาริ เก็นโด หลังจากที่ได้รู้จักกับชินจิ ทั้ง 2 คนก็เริ่มสนิทสนมกัน และพัฒนาบุคลิกในการเข้าสังคมมากขึ้น
- อิคาริ ชินจิ
- อิคาริ ชินจิ (ญี่ปุ่น: 碇 シンジ Ikari Shinji ?) ลูกชายของ อิคาริ เกนโด และยูอิ เป็นเด็กที่ถูกคัดเลือกให้ไปขับอีวา หุ่นหมายเลข 01 โดยมีความสามารถในการเชื่อมต่อกับอีวามากกว่าอาสึกะ และเรย์ ชินจิเป็นเด็กเรียบร้อย และมีจิตใจอ่อนโยน แต่แสดงความรู้สึกไม่เก่ง ไม่มั่นใจในตนเอง และขาดความรัก เพราะแม่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก และถูกพ่อทอดทิ้ง จึงทำให้เมื่ออยู่กับใครก็มักจะอ่อนไหวตามคนนั้น
- โซริว อาสึกะ แรงก์เรย์
- โซริว อาสึกะ แรงก์เรย์ (ญี่ปุ่น: 惣流・アスカ・ラングレー Sōryū Asuka Rangurē ?) ผู้ขับหุ่นหมายเลข 02 อาสึกะมีความมั่นใจในตัวเองสูง เรียนจบปริญญาตรีที่เยอรมัน และไม่ยอมแพ้ใคร อาสึกะเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นและเยอรมัน ครอบครัวของอาซึกะมีปัญหาในการตั้งครรภ์ จึงได้ทำการนำสเปิร์มจากธนาคารสเปิร์มมาใช้ในการตั้งครรภ์โดยเรียกว่า เด็กหลอดแก้ว อาสึกะใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่บุญธรรมที่เยอรมัน ต้องทำตัวเป็นเด็กดีตลอด ภายหลังได้รับคำสั่งให้ย้ายมาประจำอยู่ที่ญี่ปุ่น พักอาศัยร่วมกับชินจิและมิซาโตะ จึงได้ใช้ชีวิตแบบปกติ ไม่ต้องแสร้งทำเป็นเด็กดีอีกต่อไป บุคลิกตรงข้ามกับเรย์ และมีความรู้สึกดีๆต่อคาจิที่เลี้ยงดูมาตั้งแต่เด็ก
- ซุซุฮาร่า โทจิ
- ซุซุฮาร่า โทจิ (ญี่ปุ่น: 鈴原 トウジ Suzuhara Tōji ?) เพื่อนร่วมชั้นของชินจิที่ชินจิยอมรับเป็นเพื่อนสนิท โดยในตอนแรกเคียดแค้นชินจิ เนื่องจากขับหุ่นอีวาจนทำให้น้องสาวของตนได้รับบาดเจ็บจากการคลั่งของหุ่น ภายหลังจากหนีออกมาจากที่หลบภัยจน ชินจิเข้าไปช่วย ต่อมาได้รับมอบหมายให้ขับอีวา 03 แต่ไม่สามาถกำจัดเทวทูตได้ จึงถูกสิง และต้องใช้หุ่นหมายเลข 01 ทำลายทิ้งไป
- นางิสะ คาโอรุ
- นางิสะ คาโอรุ (ญี่ปุ่น: 渚 カヲル Nagisa Kaworu ?) นักบินที่เข้ามาขับอีวา 02 มาแทนที่อาสึกะ ในช่วงที่อาสึกะ สภาพจิตใจอ่อนแอไม่สามารถขับอีวาได้ ถูกส่งมาโดย SEELE ตัวจริงของเขานั้นคือเทวทูตองค์สุดท้าย ที่ถูกชินจิสังหารด้วยความยินยอมของตนเอง
NERV[แก้]
เนิร์ฟ (Nerv ในภาษาเยอรมันคือเส้นประสาท) เป็นองค์การลับที่ขึ้นตรงต่อองค์การสหประชาชาติ และได้รับคำสั่งให้สร้างอีวาเพื่อมารับมือกับเหล่าเทวทูต โดยมี อิคาริ เกนโด เป็นผู้บัญชาการ โดยเนิร์ฟอยู่ภายใต้หน่วยงาน เซเล่ (Seele - ในภาษาเยอรมันคือจิตวิญญาณ) โดยหน่วยงานที่ไม่มีการเปิดเผยรูปร่างหน้าตาโดยใช้เสียงในการออกคำสั่งเท่านั้น
ทำหน้าที่ในการผลิตหุ่นรบอีวานเกเลี่ยน เนื่องจากเตรียมรับมือพวกเทวทูต ซึ่งในตอนแรกองค์การเนิร์ฟยังไม่ได้รับการยอมรับจากกองทัพของภาคพื้นที่เท่า ไหร่ จนกระทั่งพวกกองทัพเหล่านั้นเห็นว่าไม่สามารถทำลายเทวทูตได้จึงได้โอนอำนาจ ให้เนิร์ฟ เดิมทีองค์การนี้เป็นศูนย์วิจัย GEHIRN ต่อมาในปี 2010 จึงได้เปลี่ยนมาเป็นองค์การเนิร์ฟ คำว่า NERV นั้นมาจากภาษาเยอรมัน ซึ่งแปลเป็นอังกฤษก็คือ Nerve ที่แปลว่าระบบประสาท
เนิร์ฟนั้นมีสาขาอยู่ 9 สาขาทั่วโลก ( ในกลุ่ม G - 7 รวมจีนและรัสเซีย ) ศูนย์ใหญ่ของเนิร์ฟอยู่ที่ญี่ปุ่นเมืองฮาโกเนะ อยู่ใต้เมืองเนโอโตเกียวที่ 3 ที่เรียกว่าจีโอ ฟร้อนท์ คำขวัญขององค์การนี้คือ " GOD ' S IN HIS HEAVEN. ALL'S RIGHT WITH THE WORLD "
SEELE[แก้]
เป็นองค์กรที่อยู่เบื้องหลังของเนิร์ฟ เป็นผู้ให้เงินทุน เซเล่ร่วมมือกับยูอิในการพัฒนาอีวามาตั้งแต่เริ่ม ผู้นำขององค์กรนี้ก็คือ " คีล ลอเร้นส์ " และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปกปิดข่าวเรื่อง 2nd Impact ด้วย รวมทั้งอาจจะเป็นผู้ที่สร้างเทวทูติขึ้นมาโจมตีด้วยซ้ำไป เนื่องจากพวกตนจะได้มีโอกาสในการผลิตหุ่นอีวานเกเลี่ยนต่อไป
ความ เชื่อของเซเล่นั้นเชื่อว่ามนุษยนั้นได้เวลาแล้วที่จะพัฒนาเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อมีชีวิตที่เป็นนิรันดร์จึงได้ร่วมมือกับเก็นโดในการตั้งแผนพัฒนา มนุษยชาติขึ้นมา
สำหรับชื่อ SEELE นั้นมาจากภาษาเยอรมัน แปลเป็นอังกฤษก็คือ " SOUL " ที่แปลว่าวิญญาณนั่นเอง
รายชื่อผู้เกี่ยวข้องกับองค์กร[แก้]
- อิคาริ เก็นโด
- พ่อของอิคาริ ชินจิ ชื่อเดิม โรคุบุนงิ เก็นโด เป็นผู้บัญชาการสูงสุดขององค์การเนิร์ฟ หน่วยงานซึ่งทำตามแผนการลับที่ถูกกำหนดนโยบายมาโดยตรงจากองค์การเซเล่ องค์การซึ่งต้องการนำมนุษยชาติ ไปสู่ภาวะนิรันดร์ตามพันธะสัญญาในพระคัมภีร์ แต่โดยส่วนตัวลึกๆ แล้ว ผบ.อิคาริ ก็มีแผนในใจของตนเองที่จะทรยศต่อองค์การเซเล่เช่นกัน ชอบทำท่าทีเย็นชาใส่ชินจิ ไม่ใช่ว่าไม่ใส่ใจ แต่เป็นคนแสดงอารมณ์ไม่เก่งเท่าที่ควร เดิมที่มีนามสกุลว่าโรคุบุนงิ หลังจากการแต่งงานกับยูอิแล้ว จึงเปลี่ยนมาใช้นามสกุลตามภรรยา (คนส่วนหนึ่งในญี่ปุ่น ฝ่ายชายจะเปลี่ยนตามภรรยา)
- คัตซึรางิ มิซาโตะ
- คัตซึรางิ มิซาโตะ (ญี่ปุ่น: 葛城 ミサト Katsuragi Misato ?) สังกัดแผนก 1 กองแผนการรบ ฝ่ายเสนาธิการ ในฐานะผู้พัน ของกองบัญชาการเนิร์ฟ เป็นผู้ดูแลฝ่ายยุทธการของเนิร์ฟ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชาของชินจิ และในทางปฏิบัติก็เป็นผู้ปกครองของชินจิอีกด้วย เธอมีหน้าที่สั่งการยามเกิดการสู้รบกับเหล่าเทวทูต เธอเป็นคนง่ายๆ ทำตัวตามสบาย แต่บางครั้งออกจะปล่อยตัวไปสักหน่อย และมีนิสัยค่อนข้างใจร้อน เคยเป็นคนรักกับคาจิ และเป็นคนเดียวที่รอดจากคณะสำรวจที่ขั้วโลกใต้ในเหตุการณ์ Second Impact ซึ่งในเรื่องจะเห็นว่ามิซาโตะมีแผลเป็นอยู่ที่ท้อง
- ดร.อาคางิ ริตสึโกะ
- นักวิทยาศาสตร์ผู้เก่งกาจ สังกัดฝ่ายเทคนิคที่ 1 หน่วยพัฒนากองบัญชาการเนิร์ฟ เป็นผู้รับผิดชอบการพัฒนาหุ่นอีวา เป็นลูกสาวของนาโอโกะผู้คิดค้นระบบเมไจ (Magi) เป็นผู้คอยซ่อมแซมและดูแลเมไจ ซึ่งในเมไจได้บรรจุสมองของนาโอโกะมารดาของเธอ เธอรู้ความลับของอีวาและองค์กรมากมาย เธอเป็นเพื่อนสนิทกับมิซาโตะ เป็นคนใจเย็น เงียบขรึมเรียบร้อย ซึ่งตรงข้ามกับมิซาโตะ
- เรียวจิ คาจิ
- เป็นเจ้าหน้าที่คนหนึ่งในองค์การเนิร์ฟ เป็นอดีตคนรักของมิซาโตะ เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจตราการทำงานของเนิร์ฟ และเจ้าหน้าที่สำรวจข้อมูล กระทรวงมหาดไทย สังกัดรัฐบาลญี่ปุ่นแต่แท้จริงแล้วเป็นสายลับของรัฐบาล ทำหน้าที่เป็นสายลับสองหน้า ให้กับทั้งรัฐบาลญี่ปุ่น และเนิร์ฟ เขาไม่ใช่คนเลว แต่กลับมีความเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้ง เป็นคนที่มีบุคลิกทะเล้น เจ้าชู้ อ่อนโยน เศร้า และอบอุ่น รวมกัน เป็นตัวละครที่น่าสนใจคนหนึ่ง เป็นแบบอย่างของคนที่มีบุคลิกเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ ที่มนุษย์เราควรจะเป็น ท่ามกลางบุคลิกผู้ใหญ่ของตัวละครอื่นๆ ที่มีความบกพร่องปะปนอยู่
- ฟุยุสึกิ โคโซ
- เป็นรอง ผบ.เนิร์ฟ เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวทั้งหมด ส่วนใหญ่จะอยู่กับเก็นโดตลอด เป็นผู้ร่วมเก็บงำความลับระหว่างองค์การเซเล่กับอิคาริเกนโด ในอดีตเคยเป็นอาจารย์สอนของอิคาริเกนโด รวมไปถึงสมาชิกในองค์การเซเล่อีกด้วย
- อิบูกิ มายะ
- เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคคอมพิวเตอร์ ในเนิร์ฟ นับถือ ริทซึโกะมาก
- ชิเงรุ โอบะ
- เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคคอมพิวเตอร์
- เฮียวกะ มาโคโตะ
- เป็นเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกับมายะ คอยเป็นสายสืบให้กับมิซาโตะ เพราะแอบหลงรักมิซาโตะ
- อิคาริ ยูอิ
- แม่ของชินจิ เสียชีวิตไประหว่างการทดลองเดินครื่องอีวาหมายเลข 01 โดยสูญเสียสภาพร่างกายไปหลงเหลือแต่จิตวิญญาณใน Link Connect Liquid ของเหลวสำหรับเดินเครื่องหุ่น
เพื่อนร่วมชั้นเรียนในเนโอโตเกียวแห่งที่3[แก้]
- ไอดะ เคนสุเกะ
- เป็นเพื่อนร่วมชั้นของชินจิ มีความใฝ่ฝันที่จะได้ขับอีวานเกเลี่ยน
- โฮรากิ ฮิคาริ
- เป็นหัวหน้าชั้นของชินจิ สนิทกับอาสึกะ และแอบรักโทจิ
สถานที่[แก้]
Neo Tokyo-2[แก้]
เป็นสาขาย่อยของเนิร์ฟในญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่เมืองมัตสึชิโร่ โดยเป็นสถานที่ที่ใช้ในการทดลองอีวา 03 และได้เกิดระเบิดไปเนื่องจากอีวา 03 ถูกเทวทูตเข้าสิงและอาละวาด
Neo Tokyo-3[แก้]
เป็นเมืองที่สร้างขึ้นเพื่อเตรียมรับการโจมตีจากเทวทูตโดยเฉพาะ ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า " เมืองป้อมปราการ " ตั้งอยู่ที่ฮาโกเนะ โดยข้างใต้เมืองก็คือจีโอ ฟร้อนท์ที่ทำงานของเนิร์ฟนั่นเอง เมืองเนโอโตเกียวประกอบไปด้วยตึกต่างๆที่ใช้ในการรบกับเทวทูติ ตึกบางตึกสามารถเก็บลงไปใต้ดินได้ ซึ่งอาจจะเป็นตึกสำนักงานทางธุกิจของเอกชนที่ไม่เกี่ยวข้อง จะเหลือไว้แต่ตึกป้อมปราการ ( Armament Building ) เท่านั้น
Gehirn[แก้]
เป็นสถานีวิจัยค้นคว้าเก่าก่อนที่จะมาเป็นองค์การเนิร์ฟ โดยวิจัยในเรื่องแผนพัฒนามนุษยชาติ สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งในตอนแรกคือ เก็นโด ,นาโอโกะ ,ฟุยุสึกิ ต่อมาเมื่อเมไจเสร็จสิ้น สถานีวิจัยนี้จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นองค์การเนิร์ฟในปี 2010
Graveyard of Evas[แก้]
สุสานของหุ่นอีวาที่ใช่ในการทดลอง อยู่ในเซ็ลทรัล ด้อกม่า ในอดีตสถานที่แห่งนี้เป็นที่ที่ใช้ในการทดลองและพัฒนาอีวานเกเลี่ยน รวมถึงระบบเมไจด้วย แต่หลังจากที่การทดลองซิงโครว์กับอีวาครั้งแรกของยูอิได้เกิดล้มเหลว สถานที่แห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างและเปลี่ยนสภาพกลายเป็นแค่ทิ้งขยะอีวาที่ล้ม เหลวเท่านั้น
ข้อมูลรายละเอียดในเนื้อเรื่อง[แก้]
ดูเพิ่มเติมที่ ข้อมูลอุปกรณ์และความหมายในเรื่องอีวานเกเลียน
แรงบันดาลใจ[แก้]
อีวานเกเลียน ตลอดเรื่องอัดแน่ไปด้วยการอ้างถึงหลักการต่างๆ ทั้งทางชีววิทยา การทหาร ศาสนา และจิตวิทยา ซึ่งเป็นการเดินตามแนวทางของการ์ตูนแอนิเมชันรุ่นพี่อีกหลายเรื่อง ตัวอย่างเช่น เรือรบอวกาศยามาโตะ (ญี่ปุ่น: 宇宙戦艦ヤマト Uchū Senkan Yamato ?) ฮิเดอากิ อันโน นักเขียนของเรื่อง ได้แรงบันดาลใจหลายอย่างจากซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาผู้ยิ่งใหญ่ชาวออสเตรีย ทั้งจากประโยคที่ฟรอยด์เคยพูด ทฤษฎีจิตวิทยาเชิงวิเคราะห์ของฟรอยด์ เช่นเดียวกับ หลักการทางศาสนาและชีววิทยาที่อันโนะมักนำมาใช้เพื่อสื่อความหมายต่างๆ ในการ์ตูนของเขา ด้วยเหตุผลข้างนี้ ทำให้อันโนะมักถูกวิจารณ์ว่าเป็นพวกชอบขโมยความคิด หรือก็แค่งานที่มาจากความคิดของทีมงานเท่านั้น
ศาสนา[แก้]
สัญลักษณ์เชิงศาสนาที่ถูกใช้ใน อีวานเกเลียน ส่วนใหญ่นั้น ได้แรงบันดาลใจมาจากจูเดโอ-คริสเตียน หรือความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่มารากฐานมาจากศาสนายิว สัญลักษณ์ศาสนาดังกล่าวถูกนำมาจากหลายศาสนา ได้แก่ ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ นอซทิสซึม (ลัทธิเหตุผล) และ กับบะลาห์ (Kabbalah: ศาสตร์เร้นลับของชาวยิว)
ทสึรุมะคิ คะสุยะ (ญี่ปุ่น: 鶴巻 和哉 Tsurumaki Kazuya ?) ผู้ช่วยผู้กำกับ กล่าวว่า ในตอนแรก การ์ตูนเรื่องนี้ใช้สัญลักษณ์ทางศาสนาคริสต์แค่เพื่อให้แตกต่างจากการ์ตูนหุ่นยนต์สู้กันเรื่องอื่นๆ และไม่มีความหมายอะไรมากกว่านั้น แต่การใช้สัญลักษณ์นี้โดยผู้ที่ไม่รู้ความหมายก็กลับการเป็นจุดอ่อนได้เหมือนกัน
สัญลักษณ์ทางศาสนาใน อีวานเกเลียน สามารถตีความเบื้องต้นอย่างง่ายๆ ดังนี้
- อาดัม และ อีฟ (เอวา) บอกถึงมนุษย์คู่แรกของโลก ตามพระธรรมปฐมกาล (Book of Genesis) ในคัมภีร์ของศาสนายิว และศาสนาคริสต์ โดยอีฟ เกิดมาจากซี่โครงของอาดัม เช่นเดียวกับในการ์ตูน ที่หุ่นยนต์อีวา (Eva) ทั้งหลาย มีต้นกำเนิดมาจากเทวทูต (Angel) ตนแรก คือ อดัม นั่นเอง
- ไม้กางเขน เห็นได้บ่อย โดยเป็นรูปร่างของลำแสงระเบิดโดยเทวทูต (Angel) เหมือนลำแสงจากสรวงสวรรค์
- เทวทูต (Angel) อาจจะหมายถึงเทวดาตามคติความเชื่อของศาสนาคริสต์ ตามพันธสัญญาเดิม รวมถึง ทูตสวรรค์ หรือผู้นำสารจากพระเจ้า ตามพันธสัญญาใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น